วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คีย์ลัดที่มีประโยชน์บน Windows

คีย์ลัดที่มีประโยชน์บน Windows
นำเอาเคล็ดลับและเทคนิคคีย์ลัดที่มีประโยชน์ บน   Windows ที่หากใช้บ่อย ๆ จะทำให้เราทำงานต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และสะด้วยกขึ้น มาก
เอามาแบบที่น่าใช้ เพราะถ้าเยอะเกิน ก็ จำไม่ค่อยได้ หรือไม่ค่อยได้ ใช้ เอา แบบที่ใช้แล้วช่วยเราได้มากละกันครับ

กดปุ่ม SHIFT เมื่อใส่แผ่น CD , DVD เพื่อป้องกันไม่ให้ไดรฟ์ซีดี เรียกใช้แผ่นซีดีโดยอัตโนมัติ หรือหยุดการ Autorun
กด Shift + Delete เพื่อลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ที่เลือกไว้อย่างถาวร
กด F2 เพื่อเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เลือกไว้

กด CTRL + A เพื่อเลือกทั้งหมด

กด F3 ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์

กด ALT + ENTER ร่วมกัน เพื่อดูคุณสมบัติของรายการที่เลือก

กด ALT + F4 เพื่อปิดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ใช้งานอยู่

กด CTRL + F4 เพื่อปิดไฟล์ โฟลเดอร์หรือ โปรแกรม ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่

กด ALT + TAB เพื่อสลับหน้าต่างระหว่าง แฟ้ม โฟลเดอร์ หรือ  โปรแกรม ที่เปิดอยู่

กด SHIFT + F10 เพื่อแสดงเมนูทางลัดสำหรับโปรแกรมที่เลือก

กด CTRL + ESC เพื่อเปิด Start menu

F10 เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่ใช้งาน

ลูกศรขวา เปิดเมนูถัดไปทางขวาหรือเปิดเมนูย่อย

ลูกศรซ้าย เปิดเมนูถัดไปทางซ้ายหรือปิดเมนูย่อย

กด F5 เพื่อรีเฟรชหน้าต่างที่ใช้งาน

BACKSPACE ถอยหลังเพื่อดูโฟลเดอร์หนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer

กดปุ่ม ESC เพื่อยกเลิกการใช้งานใด ๆ

อ้างอิง : http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=551&section_id=1&catagory_id=1

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

client/server คืออะไร

Client คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server
server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web server แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อข่าย
server แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น

client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้
เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ 

อ้างอิง : http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2052-client-server-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

E-Commerce


E-Commerce คืออะไร
E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

E-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน ดังนี้
1.ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การขายโดยใช้ระบบShopping Cart ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เองตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์
3.เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4.ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5.แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย 

ประเภทของ E-Commerce
1.การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า
2.การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3.การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ 

ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
 
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต 

อ้างอิง : http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2083-e-commerce-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html


IP Address คืออะไร ไอพี แอดเดรส


IP Address คืออะไร  
       IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 


อ้างอง : http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2071-ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

LMS คืออะไร

LMS คืออะไร 
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management Systemหรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ 

องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

อ้างอิง : http://www.kroobannok.com/1585

CAI คืออะไร



CAI (Computer AssistedInstruction) คือ การนำคอมพิวเตอร์มาสร้างเป็นบทเรียนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ พลศึกษา ศิลป รวมถึงวิชาคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ทบทวน เพิ่มพูนความรู้จากการเรียนได้ตามต้องการ ซึ่งเนื้อหาที่ใช้สอนนั้นสามารถเป็นได้ทั้งความรู้เดกิมและความรู้ใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้นก็ได้
 
ที่มา : ภัททิรา เหลืองวิลาศ, สร้างสื่อการเรียนการสอน CAI ด้วย Macromedia Authorware 7,
กรุงเทพฯ : สวัสดีไอที,  2547
 
บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน” (Computer
Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียนหรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา
ศิริชัย นามบุรี, 2542
 
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจาก นี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
 
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1.  สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตก ต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3.  การโต้ตอบ (Interaction) คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ สอนได้มากที่สุด
4.  การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้




อ้างอิง : http://www.caimaking.com/content-CAI%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-4-824-15198-1.html

E-office คืออะไร

E-office คืออะไร
          E-office หรือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ บางแห่งเรียกว่า สำนักงานอัตโนมัติ (office Automation) แต่ความหมายโดยทั่วไปแล้ว E-office ก็คือ สำนักงานที่ใช้กระบวนการหรือวิธีการในการบริหารงานรูปแบบใหม่ โดยการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมในสำนักงาน ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มุ่งเน้นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการบริหารงานในองค์กร รวมถึงการปฏิบัติงานทังในส่วนของการจัดการงานเอกสาร การส่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะdigital อย่างเป็นระบบ ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถทำงานได้จากพื้นที่ใดๆ ของเครือข่ายในเขตขององค์กรได้ บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลกลางที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องร่วมกันได้โดยง่าย เป็นส่วนทำให้ประหยัดงบประมาณ เป็นฐานนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคล ระบบกลไกการดำเนินงาน รวมถึง อุปกรณ์และเครื่องมือ เพื่อการบริหารและการปฏิบัติงาน อย่างแท้จริง

ลักษณะการทำงาน
          การรับส่งเอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือประชุม หนังสือเวียนต่างๆ ในแต่ละวันจะมีจำนวนมาก การดำเนินการดังกล่าวต้องมีการใช้ระบบทำสำเนา กระดาษ ถ่ายเอกสาร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการดำเนินงาน อีกทั้งการ รับ–ส่ง ด้วยกระดาษต้องใช้คนส่ง เป็นการเดินทางของหนังสือที่ล่าช้า ยิ่งอยู่หน่วยนอกแล้วยิ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก การดำเนินการงาน โดยการใช้เครือข่ายที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายนี้ ขณะเดียวกันหน่วยงานทุกหน่วยงานต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อ เพื่อการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งบุคลากรขององค์กรสามารถเรียนรู้ระบบได้โดยไม่ยากนัก องค์กรจึงควรใช้ช่องทางการสื่อสารนี้ เพื่อดำเนินการ รับ – ส่ง เอกสาร ข้อความ หนังสือราชการ หนังสือเชิญประชุม หนังสือเวียนทราบต่างๆ ให้กับทุกหน่วยงานได้

ประโยชน์ของระบบ
          ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับจากการดำเนินการ E-office คือ
- การเพิ่มคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว และเราสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้งานระบบ E-office
- การใช้งานระบบนี้ ไม่ต้องเพิ่มทุนมากนักเพราะทรัพยากรหลักๆ เป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในองค์กร
- แสดงถึงความก้าวหน้าขององค์กร
- การทำงานภายในขององค์กรจะรวดเร็วขึ้น
- การเน้นในเรื่องความเร็วและเวลาเป็นสิ่งที่ได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน
- การจัดการเอกสารจะดีขึ้น
- จะมีการจัดหมวดหมู่และเรียกใช้เอกสารย้อนหลังได้ง่ายขึ้น
- ระบบการค้นหาเอกสารจะทำให้เข้าถึงเอกสารในรายละเอียดได้มากขึ้น
- สิ่งสำคัญอย่างมาก คือ การลดกระดาษ การลดพื้นที่การเก็บเอกสาร
- การลดการใช้กระดาษ ย่อมหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงไปได้มาก

ตัวอย่าง



อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=CdCLSbhE8dI
           : http://adjutant.rta.mi.th/articles.php?article_id=3









คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม ภัยร้ายในยุคสังคมก้มหน้า

ในยุคดิจิตอล ที่การสื่อสารสามารถทำได้ง่าย เพียงปลายนิ้ว ทำให้ดวงตาต้องรับบทหนัก ต้องเพ่ง ต้องจ้องหน้าจอต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2014 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ในปี 2557 เพิ่มสูงขึ้นมาก
โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน (หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต)
ขณะปี 2556 มีตัวเลขการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน
สอดคล้องกับข้อมูลการใช้โซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเฟซบุ๊กของคนไทยที่มีมากถึง 28 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 53 เช่นเดียวกับยอดผู้ใช้ LINE คนไทยติดเป็นอันดับ 2 ของโลก ทะลุ 24 ล้านคน ส่วนอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือ พบว่าชาวไทยกว่าร้อยละ 85 ติดมือถืออย่างหนักจนขาดไม่ได้ ยังไม่รวมถึงการใช้จอคอมพิวเตอร์สำหรับการทำงาน และการดูทีวี
ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาให้ถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว
นพ.พิษณุ พงษ์สุวรรณ จักษุแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีปัญหาโรคตาที่มีสาเหตุจากการใช้คอมพิวเตอร์และจอต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกปี ผลพวงจากความสะดวกและความทันสมัยของการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เราเสพติดการสื่อสาร ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน เราก็มักจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาพิมพ์บอกเพื่อนผ่านโปรแกรมแชต และผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่เสมอจนติดเป็นนิสัย จนทำให้เราลืมไปว่าดวงตาของเรากำลังถูกใช้งานอย่างหนักเกินความจำเป็น เพราะการมองหน้าจอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจอสมาร์ทโฟน จอแท็บเล็ต จอคอมพิวเตอร์ และจอโทรทัศน์ ตลอดเวลาและติดต่อกันเป็นเวลานาน ดวงตาของเราจะต้องเจอกับแสงจ้าจากหน้าจอดังกล่าว เกิดอนุมูลอิสระสะสม จนอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตาของเราได้ เช่น อาจจะเกิดการระคายเคือง น้ำตาไหล ตาแห้ง ตาอักเสบ เกิดสายตาพร่ามัว จากกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า มีอาการมองเห็นภาพซ้อน รวมถึงอาการแพ้แสง จนมีการจัดกลุ่มอาการต่าง ๆ นี้รวมกันเรียกว่า โรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม ซึ่งนอกจากตาแล้วยังทำให้มีอาการปวดศีรษะ บ่า และคอร่วมด้วย
เพราะไม่มีใครตอบได้ว่าเมื่อดวงตาเกิดความผิดปกติแล้วจะสามารถกลับมามองได้ชัดเหมือนเดิมหรือไม่ เราควรป้องกันการเกิดความผิดปกติต่าง ๆ กับดวงตา
เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ดวงตา เช่น หากต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ๆ ควรหมั่นพักสายตา 2-3 นาที ต่อการใช้สายตาทุก ๆ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง และกะพริบตาบ่อย ๆ 10-15 ครั้งต่อนาที และควรใช้สายตาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเท่าที่จำเป็น รวมถึงนั่งทำงานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย นอกจากนี้เวลาอยู่ในที่กลางแจ้งที่มีแดดจ้า หรือเวลาขับรถในเวลากลางวันควรใส่แว่นกันแดด เพื่อลดปริมาณแสงแดดเข้าสู่ดวงตาที่นำมาซึ่งความเสื่อม และความผิดปกติของดวงตา
บำรุงดวงตาจากภายในด้วยอาหารบำรุงสายตาที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วย เช่น การเลือกผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง ที่มีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และความเสื่อมของดวงตา รวมทั้งช่วยป้องกันความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตา ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระพบมากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ เช่น บิลเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ที่สำคัญที่สุด ควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากเกิดความผิดปกติของดวงตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที.
อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/275622/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1+%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2

WBI คืออะไร

ยินดีต้อนรับสู่การเรียนรู้เรื่อง WBI.....

WBI คืออะไร

      WBI หรือ Web Base Instruction เป็นการจัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบของ Web Knowledge Based โดยใช้เทคโนโลยีทางของ Webpage เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอเนื้อหา หรือ ดำเนินกิจกรรม หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า “การเรียนการสอนแบบ Online” นั่นเอง
รูปแบบของ WBI ได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆได้แก่

       1) Asynchronous Learning Methods เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เวลาใดก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของตนเองโดยผู้สอนจะมีการสร้างเนื้อหาไว้ใน Web site ที่กำหนด จะมีโครงสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ เช่น Text หรือ VDO เพื่อผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้ และอาจมีการกำหนดช่องทางในการติดต่อผู้สอน ในกรณีที่ผู้เรียนเกิดข้อคำถามที่ต้องการใช้ผู้สอนช่วยในการแนะนำ เช่นระบบ Webboard Chat หรือ E-Mail เป็นต้น
       2) Synchronous Learning Methods
เป็นการสอนในเวลาเดียวกับผู้เรียน โดยใช้เทคโนโลยีของ WEB เป็นสื่อกลางในการสอน โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถปฏิสัมพันธ์กันในเวลาเดียวกันแต่ต่างๆสถานที่ หรือการเรียนการสอนในเวลาจริงนั่นเอง(Real Time) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้จะเป็นระบบ Internet ความเร็วสูงและระบบการประชุมวีดิทัศน์(VDO Conferencing) ซึ่งผู้เรียนสามารถถามคำถามต่างๆ เมื่อตนเองเกิดข้อสงสัยได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการฝากข้อคำถามไว้

คุณสมบัติของสื่อ WBI 

       1) สารสนเทศ(Information) มีการจัดเรียบเรียง กำหนดรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา(Content) เป็นอย่างดีเนื่องจากสื่อการสอนจะ เป็นการจัดการสอนที่ไม่มีผู้สอน เนื้อหาในสื่อจะต้องมีความชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
       2) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individualization) คือการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากผู้เรียนจะมีบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ รวมถึงพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวสื่อจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อิสระในควบคุมการเรียนรู้ผู้เรียน และเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมได้เอง
       3) การโต้ตอบ(Interaction)
การโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวโปรแกรมและผู้เรียนจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อีกทั้งเกิดกิจกรรมการเรียนที่สร้างเสริมความคิด ของตนเองอีกด้วย
       4) ผลป้อนกลับโดยทันที(Immediate Feedback) สื่อจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผลลัพธ์ การเรียนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการประเมินผลเรียน โดยอาจจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือ การตวรจสอบความเข้าใจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับเนื้อหา

หลักการออกแบบสื่อ WBI 

       1) ออกแบบเนื้อหา
       ขั้นที่ 1 ขั้นในการเตรียมตัว (Preparation Stage) เป็นขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ของทีมผู้พัฒนาสื่อ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในทีม หรือ การผสานงานบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ
       ขั้นที่ 2 ขั้นการกำหนดเนื้อหา (Content Selection Stage) เป็นขั้นตอนในการเลือกเนื้อหาที่ต้องการที่จะมาทำสื่อ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะนำสื่อไปใช้งาน
       ขั้นที่ 3 ขั้นการกำหนดเนื้อหา(Content Analysis Stage)
      ทำการวิเคราะห์แจกแจงเนื้อหาที่จะสอนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด เป็นการตั้งเป้าหมายในการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ว่าจำเป็นต้องมีขอบเขตการสอนอย่างไร
       2) ออกแบบโครงสร้างระบบ
เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบโครงสร้าง เพื่อให้เห็นภาพมากที่สุดโดยจะมีการใช้รูปโมเดลเข้ามาช่วยในการแสดง
       2.1 โครงสร้างแบบเส้นตรง (Linear Structure) เมื่อต้องการให้มีการนำเสนอเป็นแบบแบบลำดับตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดบทเรียนเรียงไปตามลำดับของเนื้อหา

  2.2 โครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure) เมื่อข้อมูลของบทเรียนเป็นแบบสัมพันธ์ที่แยกออกได้เป็นแต่ละส่วน ไม่จำเป็นต้องเรียนเป็นลำดับ โดยที่สามารถเลือกเรียนได้ว่าอยากเข้าเรียนในหน่วยเรียนใดก่อนก็ได้
 
       2.3 โครงสร้างแบบปิรามิด (Pyramidal Structure) เป็นโครงสร้างที่จัดที่จัดวางแหล่งข้อมูลในระดับที่3 ไว้ในระดับเดียวกันโดยโครงสร้างนี้จะเหมาะสมเมื่อทุกส่วนของ WEB ต้องการใช้ข้อมูลด้วยกัน
       3. ออกแบบหน้าจอ(User Interface)
เป็นการออกแบบหน้าจอ หรือหน้าตาของสื่อโดยส่วนนี้จะบทบาทและความสำคัญ หากออกแบบได้ไม่ดีก็จะทำให้ความน่าสนใจในตัวสื่อลดลง โดยจะแบ่งส่วนประกอบหลักๆได้ดังนี้
       (1) หน้าแรก(Home Page) อาจจะถือได้ว่าเป็นหน้าบ้าน หากหน้าแรกดูไม่ดีหรือไม่น่าสนใจ ก็จะไม่สามารถดึงดูดผู้ชมหรือผู้ข้าศึกษา ให้เข้ามาศึกษาบทเรียนได้
       (2) แถบกำหนดทิศทางการเดิน(Navigator) เป็นการจัดลำดับเส้นทางการเคลื่อนที่ไปยังหน้าต่างๆ การกำหนดเส้นทางที่ดีไม่สับสน วกวน จะทำให้ผู้ศึกษาไม่สับสน และเบื่อ ในการเข้าศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาสื่อ WBI
       • Computer
       • Server
       • Web Tools
              o HTML Editors
              o Database
              o Interaction
              o Multimedia Tool

องค์ประกอบ Web พื้นฐาน ของ WBI
 1.Tutorial      
 2.Lab Simulation      
 3.Pretest/Posttest      
 4.Web  board/E-Mail
 5.FAQ       
 6.Link / Search      
 7.Student Databases

ประโยชน์ของสื่อ WBI
 1. ส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 2. ลดข้อจำกัดในความแตกต่างของโอกาสในการเรียนของแต่ละบุคคลได้
 3. ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนตามความต้องการของตนเองได้
 4. สร้างความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียน
 5. ลดต้นทุนการการจัดกิจกรรมการเรียน


ข้อจำกัดของสื่อ WBI
  1. ความพร้อมในระบบสื่อสารภายในประเทศยังไม่รองรับกับการใช้งานระบบ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
  2. ใช้งบประมาณในการลงทุนขั้นต้นค่อนข้างสูง
  3. ผู้เรียนขาดทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
  4. ขาดบุคลากร และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสื่อ




อ้างอิง : http://www.blog.prachyanun.com/view.php?article_id=120